วัดหนองก๋ายขออนุโมทนาบุญกับเจ้าภาพพิธีมาติกา บังสุกุลในวันที่ 19 ส.ค. 2564 คุณจินห์วิภา เจนทุมา อุทิศให้กับนางสมุ ร่วมชาติ นายสร้อย เจนทุมา น้องหนึ่ง เจนทุมา ญาติผู้ล่วงลับรวมไปถึงเจ้ากรรมนายเวร
พิธีมาติกา บังสุกุล จัดขึ้นในเวลา 10:00 น.
เจ้าภาพทำบุญชุดใหญ่ 3,000 บาท - พีธีเต็ม พร้อมถวายปัจจัยและสังฆทาน พระภิกษุสงฆ์ 4 รูป
เจ้าภาพทำบุญชุดเล็ก 1,000 บาท - พิธีเต็ม ปัจจัยถวายพระภิกษุ (ไม่มีสังฆทาน)
และร่วมบุญได้ตามกำลังศรัทธา
ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับ กับวัดหนองก๋าย
ทำบุญให้ผู้ล่วงลับ ทำอย่างไรให้เขาได้รับผลบุญ
วัดหนองก๋าย เปิดรับผู้ที่สนใจทำบุญให้กับญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงทำบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวร เสริมดวงชะตา พร้อมสร้างมหาทานบารมีมอบโลงศพให้กับผู้ยากไร้และหน่วยงานต่างๆ ที่ทางวัดหนองก๋ายได้จัดขึ้นและทำการส่งมอบต่อไป
รูปแบบการทำบุญกับวัดหนองก๋ายแบ่งได้เป็น 2 วิธี
วิธีที่ 1 ทำบุญด้วยตนเองที่วัดหนองก๋าย จะมาคนเดียวหรือมาทั้งครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง ทางวัดหนองก๋ายเตรียมที่สำหรับรับรองทุกท่านได้เข้าร่วมพิธีทั้งหมด ท่านสามารถนำรูปของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วมาเข้าพิธีมาติกา บังสุกุล อุทิศบุญส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมกับได้เขียนชื่อของท่านและครอบครัวใส่ใบสะเดาะเคราะห์เข้าร่วมพิธีได้อีกด้วย
*หมายเหตุ* สำหรับท่านที่มีความประสงค์นิมนต์พระภิกษุ 4 รูปเพื่อทำพิธีทำบุญเต็มรูปแบบทางวัดหนองก๋ายมีบริการสังฆทานให้บูชา
วิธีที่ 2 ทำบุญออนไลน์ผ่านทางออนไลน์ผ่านบัญชีธนาคารที่จะใส่ไว้ด้านล่าง หลังจากทำบุญเรียบร้อยแล้วสามารถแจ้งรายละเอียด นำชื่อของผู้ล่วงลับ ส่งรูปมาทางออนไลน์ทางวัดจะทำการพิมพ์ภาพของผู้ล่วงลับ ใส่กรอบและนำเข้าทำพีธี
*หมายเหตุ2* หากท่านใดร่วมบุญโดยการโอนเงินเข้ามาแล้ว สามารถโพสต์สลิบโอนเงินได้ที่ แฟนเพจ Facebook วัดหนองก๋าย
และทางไลน์ออฟฟิเชียลของวัดหนองก๋าย https://lin.ee/x7wWwMS @watnonggai
สำหรับท่านมีความประสงค์ต้องการจะรับใบอนุโมทนาบัตรสามารถส่งหลักฐานการโอนเงิน พร้อมที่อยู่สำหรับการรับใบอนุโมทนาบัตร ผ่านทาง LINE หรือแฟนเพจ Facebook วัดหนองก๋าย
บัญชีทำบุญ
กองทุนกู้ภัยจิตอาสาวัดหนองก๋าย ธนาคารกสิกรไทย
สาขาท่าแพเชียงใหม่
เลขที่บัญชี 103-3-85807-4
เคล็ดลับทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ
1. เรียกชื่อในขณะที่ถวายสังฆทาน
ทุกครั้งที่ผู้เขียนไปถวายสังฆทานให้คุณพ่อที่ล่วงลับไปแล้ว มักจะต้องเอ่ยนามชื่อของคุณพ่อเสมอประมาณว่า ขอบุญกุศลที่ลูกได้ถวายสังฆทานในครั้งนี้ขอให้คุณ..(พร้อมเอ่ยชื่อผู้เสียชีวิต) จงมารับผลบุญที่ลูกอุทิศส่วนกุศลในครั้งนี้ แล้วจงส่งผลบุญกลับมาให้ลูกได้พบกับความสุขความเจริญในชีวิตด้วยเทอญ เพราะผู้เขียนเชื่อเสมอว่าถ้าเราถวายสังฆทานแล้วนึกถึงชื่อผู้เสียชีวิตไปแล้วเขาก็สามารถได้รับผลบุญที่เราได้อุทิศไปให้ท่าน ซึ่งหลังจากที่ผู้เขียนได้ทำบุญถวายสังฆทานไปให้คุณพ่อแล้ว ผู้เขียนกลับฝันถึงคุณพ่อว่ามาขอบคุณที่ทำบุญไปให้ท่านเลยทำให้เขาไม่รู้สึกหิวและหนาวอีกต่อไป เลยทำให้มีมูลเหตุที่ว่าทุกครั้งที่เราทำบุญให้คนที่เสียชีวิตไปแล้วจงบอกชื่อนามสกุลให้ชัดเจนเพื่อที่เขาจะได้รับผลบุญอย่างเต็มที่นั่นเอง
2. นำอาหารที่เขาชอบใส่บาตรอยู่เสมอ
ตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาผู้เขียนเคยได้ยินมาว่าหลังจากที่ผู้ตายได้เสียชีวิตไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ วิญญาณของผู้เสียชีวิตยังคงล่องลอยอยู่ที่เกิดเหตุและยังไม่ได้ไปผุดไปเกิด ถ้าเป็นไปได้เราควรหมั่นทำบุญตักบาตรในช่วงนี้ให้บ่อยที่สุด และอาหารที่ใส่บาตรควรเป็นสิ่งที่เขาชื่นชอบและรับประทานบ่อย ๆ ตอนที่เขามีชีวิตอยู่ก็จะทำให้เขาได้รับผลบุญจากการที่เราตักบาตรไปให้เขาอยู่เสมอ
3. ตั้งใจแผ่เมตตา
สำหรับบางคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างที่จะไปทำบุญให้กับผู้ที่เสียชีวิต เราอาจจะถือศีลอยู่ที่บ้านและหมั่นแผ่เมตตาให้เขาบ่อย ๆ ซึ่งเวลาที่เราแผ่เมตตาให้ผู้ที่เสียชีวิตควรทำด้วยความตั้งใจและจิตใจอันแน่วแน่ ก็จะทำให้ผลบุญในครั้งนี้สามารถส่งถึงผู้ที่เสียชีวิตได้
4. ทำบุญเมื่อถึงวันครบรอบที่ผู้ตายเสียชีวิต
เมื่อถึงวันครบรอบวันตายของผู้ที่เสียชีวิต ผู้เขียนมักจะไปทำบังสุกุลที่วัดตรงที่เก็บอัฐิของคุณพ่อไว้พร้อมเชิญพระมาทำพิธีให้ แล้วมีการทำบุญถวายปัจจัยต่าง ๆ ไปให้ผู้เสียชีวิตด้วย เพราะผู้เขียนมีความเชื่อว่าถ้าเราหมั่นไปทำบุญให้เขาช่วงในวันที่ครบรอบวันตายจะทำให้เขาได้รับผลบุญมากที่สุด แล้วผลบุญที่เราทำไปนั้นยังส่งผลกลับมาทำให้ชีวิตของผู้เขียนดีขึ้นอีกด้วย